วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ระบบสารบบ



ระบบสารบบ 
ในระบบคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ จะมีแฟ้มที่ต้องจัดเก็บอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เสียเวลาในการค้นหาแฟ้มที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้ระบบปฏิบัติการจึงมีวิธีการจัดเก็บแฟ้มที่เรียกว่า สารบบ ( directory system ) เพื่อให้การจัดเก็บแฟ้มจำนวนมาก ทำได้อย่างเหมาะสม สามารถค้นหาแฟ้มตลอดจนการจัดการกับแฟ้มได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 
การสร้งระบบสารบบกระทำโดยใช้คำสั่งของระบบปฏิบัติการเพื่อจัดสรรเนื้อที่บนแผ่นบันทึกหรือฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนเรียกว่าสารบบ นอกจากนี้ภายในแต่ละสารบบยัง 
อาจจัดสรรออกเป็นส่วนย่อย ๆ ที่เรียกว่า สารบบย่อย ( subdirectory ) การจัดสรรเนื้อที่ดังกล่าวจัดโดยอาศัยโครงสร้างแบบลำดับชั้น ( hierarchical structure ) เพื่อสะดวกต่อการจัดเก็บและการเรียกใช้แฟ้ม ทั้งนี้แต่ละสารบบจะไม่ถูกรบกวนจากการทำงานในสารบบอื่น ๆ โดยทั่วไปแฟ้มที่มากับระบบปฏิบัติการจะเก็บไว้ในสารบบที่ตั้งชื่อว่า DOS ทุกสารบบต้องมีชื่อของตัวเอง ยกเว้นสารบบรากของเครื่องขับ 
สำหรับเกณฑ์การตั้งชื่อสารบบใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการตั้งชื่อแฟ้ม ดังนี้ 
1. ตัวอักษรที่ใช้ตั้งชื่อจะเป็นภาษาอังกฤษตัวเล็ก หรือตัวใหญ่ก็ได้แต่สูงสุดไม่เกิน 8 ตัว 
อักษร 
2. ตัวอักษรใช้ได้ตั้งแต่ A ถึง Z ตัวเลข 0 ถึง 9 และอักษรพิเศษ คือ _ ^ $ ! # % & - {} @ () 
สัญลักษณ์อื่นนอกจากนี้ใช้ไม่ได้ 
3. ไม่ให้มีช่องว่างเครื่องหมาย , หรือ . แทรกอยู่ระหว่างชื่อ 
4. ห้ามใช้ชื่อซ้ำกับสารบบอื่น ๆ ที่อยู่ในลำดับชั้นเดียวกัน 
สารบบหลักที่ใช้เป็นฐานสำหรับสร้างสารบบอื่น ๆ เรียกว่า สารบบราก ( root directory)ซึ่งใช้สัญลักษณ์ \ ( back slash ) แทนชื่อของสารบบราก 




เส้นทางในระบบสารบบ 
เส้นทางในระบบสารบบ หมายถึง ชื่อสารบบตามลำดับชั้นที่ใช้กำหนดเส้นทางในการเข้าถึงแฟ้มในโครงสร้างของระบบสารบบซึ่งเขียนต่อเนื่องกัน โดยคั่นระหว่างสารบบแต่ละลำดับชั้นหรือคั่นระหว่างชื่อสารบบกับชื่อแฟ้มด้วยเครื่องหมาย 





การระบุเส้นทางในระบบสารบบสามารถทำได้ใน 2 ลักษณะ คือ 
1. เส้นทางแบบสัมบูรณ์ ( absolute path ) หมายถึง เส้นทางที่เริ่มต้นตั้งแต่สารบบรากไปจนถึงส่วนที่ต้องการภายในโครงสร้างระบบสารบบ ดังนั้นไม่ว่าในขณะนั้นผู้ใช้กำลังทำงานอยู่ในสารบบใดเส้นทางแบบสัมบูรณ์จะพาท่านไปสู่จุดหมายได้เสมอ 
2. เส้นทางแบบสัมพัทธ์ ( relative path ) หมายถึง เส้นทางที่อ้างอิงกับสารบบปัจจุบัน ซึ่ง หมายถึง สารบบที่ผู้ใช้กำลังทำงานอยู่เป็นต้นไป การอ้างเส้นทางแบบสัมพัทธ์จะทำให้เส้นทางในระบบสารบบที่ระบุสั้นลง แต่ถ้าสารบบปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป การอ้างเส้นทางในระบบสารบบแบบเดิมอาจไม่สามารถใช้งานได้ 
ตัวอย่างเช่น ถ้าสารบบปัจจุบัน คือ สารบบ WINWORD เมื่อผู้ใช้ต้องการอ้างถึงแฟ้มชื่อ PAPER.DOC ซึ่งอยู่ภายใต้สารบบ YEARS ในการอ้างถึงเส้นทางในระบบสารบบแบบสัมบูรณ์ให้ 
เขียน \WINWORD\YEARS\PAPER.DOC แต่ถ้าต้องการอ้างถึงเส้นทางในระบบสารบบแบบสัมพัทธ์ให้เขียนเป็น YEARS\PAPER.DOC



ใบความรู้ที่ 1 เรื่องซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์
                หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ให้ทำงาน    คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง
ทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้  ซอฟต์แวร์ แบ่งแยกได้เป็นสองประเภท คือซอฟต์แวร์ระบบ กับซอฟต์แวร์ประยุกต์

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System software)
                ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบ คือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
                หน้าที่ของซอฟท์แวร์ระบบ
              1.ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
               2.  ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
               3.  ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสารบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟตแวรระบบแบงออกเปน 3 ชนิด
                1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
                1.2 ตัวแปลภาษา ( Language translators)
                1.3 โปรแกรมอรรถประโยชน ( Utility program)
                1. ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (
Operating System: OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้    ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส
                                1.ระบบปฏิบัติการดอส
Disk Operating System : (DOS)
                                2.วินโดวส์ (Windows)
                                3.แมค (Mac)
                                4. ยูนิกซ์ (UNIX)
                                5.ลีนุกซ์(LINUX)
              
 1) ระบบปฏิบัติการดอส
ระบบปฏิบัติการดอส Disk Operating System : (DOS) เป็นระบบปฏิบัติการศำหรับพีซี พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2524 โดย บิล เกตส์ (Bill Gates) และ พอล อเลน (Paul Allen) มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้เป็นแบบบรรทัดฐานคำสั่งโดยผู้ใช้ต้องป้อนข้อความคำสั่งที่ละ 1 ข้อความ และต้องจดจำรูปแบบของคำสั่งให้ถูกต้อง จึงสามารถทำงานได้ตามต้องการ
              
2) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการของบริษัทไมโครซอฟต์ที่มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก ซึ่งประกอบด้วยไอคอนที่เป็นรูปภาพแทนโปรแกรมสั่ง หรือไฟล์ต่าง ๆ และหน้าต่างแสดงขอบเขตการทำงาน ระบบปฏิบัติการวินโดวส์สามารถทำงานได้ทีละหลายงานพร้อมกัน (multitasking) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์มีการพัฒนาหลายรุ่น เช่น วินโดวส์เอกซ์พี (Windows XP) วินโดวส์วิสต้า (Windows Vista) วินโดวส์เซเวน (Windows 7)

images (3).jpgimages (4).jpg
              



3) ระบบปฏิบัติการแมค
ระบบปฏิบัติการแมค (Mac) เป็นระบบปฏิบัติการของบริษัทแอปเปิ้ล (Apple lnc.) ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานมาจากระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ และเป็นผู้บุกเบิกส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก ระบบปฏิบัติการแมคมีการพัฒนาหลายรุ่น เช่น แมคโอเอสรุ่นที่ 9 (Mac OS 9) แมคโอเอสรุ่นที่ 10 (Mac OS x)                                
images (5).jpg

4) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
 ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) พัฒนาโดยกลุ่มพนักงานห้องปฏิบัติการเบลล์ของ เอทีแอนด์ที (AT&T’s Bell Laboratories) ในปี พ.ศ. 2512 ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการแรกที่มีความสามารถด้านการประมวลผลแบบหลายงาน (Multitasking) มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (Multiuser) ในช่วงแรกระบบปฏิบัติการยูนิกซ์นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกันหลายเครื่องพร้อมกัน ในภายหลังระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ได้รับการพัฒนาให้สามารถให้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์และในปัจจุบันสามารถใช้กับพีซีได้ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เริ่มต้นจากการมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบบรรทัดฐานคำสั่ง ในปัจจุบันมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น
images (9).jpg
                5) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์
ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux) พัฒนาโดยกลุ่มกะนู (GNU’s Not UNIX: GNU) ในปี พ.ศ. 2534 โดย ไลนัส ทอวาล์ด (Linus Torvaids) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานมาจากระบบปฏิบัติการยูนิกซ์และเป็นซอฟต์แวร์แบบรหัสเปิด (open source software) ซึ่งมีการแจกจ่ายรหัสต้นฉบับ (source code) ให้ผู้ใช้ที่มีความสนใจช่วยกันพัฒนาเพื่อให้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลินุกซ์ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ใช้พีซีเนื่องจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อซอฟต์แวร์ จึงได้รับความร่วมมือของนักพัฒนาทั่วโลกในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ระบบปฏิบัติการลินุกซ์สามารถทำงานได้ทั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาไปจนถึงซุปเปอร์คอมพิวเตอร์
                ระบบปฏิบัติการยังมีอีกมาก โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ วินโดว์สเอ็นที
images (8).jpgimages (7).jpg

2. โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์
            การที่มนุษย์จะติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการได้นั้น จำเป็นต้องมีตัวกลางในการสื่อสาร ซึ่งเปรียบเสมือนภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ตัวกลางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาที่คอมพิวเตอร์รู้จักและปฏิบัติงานได้ทันทีเรียกว่า ภาษาเครื่อง ซึ่งเป็นภาษาที่อยู่ในรูปเลขฐานสอง
                เนื่องจากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีความซับซ้อน ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนการทำงานและใช้การตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บจำนวนต่างๆ ภาษาประเภทนี้จัดเป็นภาษาระดับต่ำ ซึ่งก็คือภาษาแอสเซมบลี แต่ภาษาระดับต่ำนี้ยังมีความซับซ้อน เนื่องจากยังมีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาภาษาระดับสูง เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม ซึ่งลักษณะคำสั่งของภาษาระดับสูงจะประกอบด้วยคำต่างๆ ในภาษาอังกฤษ ที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้
                ภาษาระดับสูงและระดับต่ำเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าใจได้ทันที จึงจำเป็นต้องมีโปรแกรมแปลภาษาให้เป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นโปรแกรมแปลภาษาระดับสูง โดยแปลทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น เช่น ตัวแปลภาษาซี ตัวแปลภาษาปาสคาล
2. อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) เป็นโปรแกรมแปลภาษาระดับสูงโดยแปลทีละคำสั่งแล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป เช่น ตัวแปลภาษาโลโก้
3. แอสเซมเบลอร์ (assembler) เป็นโปรแกรมแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง

3. โปรแกรมอรรถประโยชน์
            โปรแกรมอรรถประโยชน์เป็นโปรแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน หรือการจัดการคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการไฟล์ การบีบอัดไฟล์ การสำรองไฟล์ การจัดเรียงพื้นที่ดิสก์ การลบไฟล์ที่ไม่จำเป็น การป้องกันไวรัส
                1. โปรแกรมจัดการไฟล์ (file manager) ใช้จัดการไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ค้นหา คัดลอก เคลื่อนย้าย ลบ เปลี่ยนชื่อ ซึ่งการจัดการเหล่านี้สามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ตัวอย่างโปรแกรมจัดการไฟล์ เช่น Windows Explorer
                2. โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (file compression) ช่วยลดขนาดของไฟล์หรือกลุ่มของไฟล์ เพื่อประหยัดพื้นที่จัดเก็บ และสะดวกในการโอนย้ายไฟล์ ก่อนการใช้งานไฟล์ที่ถูกบีบอัดเข้ามาแล้ว จำเป็นต้องเปลี่ยนคืนสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนการบีบอัด จึงสามารถนำไปใช้งานได้ ตัวอย่างโปรแกรมบีบอัดไฟล์ เช่น WinZip, WinRAR
                3. โปรแกรมสำรองไฟล์ (backup) ช่วยในการสำเนาไฟล์จากฮาร์ดดิสก์ไปเก็บไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลอื่น ในกรณีที่ฮาร์ดดิสก์หรือข้อมูลเกิดความเสียหาย ผู้ใช้สามารถกู้คืนข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลที่เป็นสำเนานั้นได้ และข้อมูลที่สำรองไว้นั้นควรเก็บรักษาไว้ในที่ที่ปลอดภัย ตัวอย่างโปรแกรมสำรองไฟล์เช่น Backup
                4. โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่ดิสก์ (disk defragmenter) ช่วยจัดเรียงพื้นที่ว่าง ที่กระจายอยู่ในฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเกิดจากการสร้างและลบไฟล์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพในการเข้าถึงไฟล์ ซึ่งเดิมส่วนของไฟล์ดังกล่าวอาจเคยกระจัดกระจายอยู่ตามตำแหน่งต่างๆ ในฮาร์ดดิสก์ โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่ดิสก์จะจัดเรียงส่วนของไฟล์เดียวกันให้อยู่ในพื้นที่ที่ต่อเนื่องกันให้มากที่สุด ตัวอย่างโปรแกรมจัดเรียงพื้นที่ดิสก์ เช่น Disk defragmenter
                5. โปรแกรมลบไฟล์ที่ไม่จำเป็น (disk cleanup) เป็นโปรแกรมที่ช่วยลบไฟล์หรือข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกจากฮาร์ดดิสก์ ตัวอย่างโปรแกรม เช่น Disk Cleanup



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น