การเรียกใช้ระบบปฏิบัติการ
โปรแกรมของผู้ใช้จะมีการติดต่อกับระบบปฏิบัติการและการเรียกขอใช้บริการต่าง
จากระบบได้โดยผ่านทางการเรียกระบบ ซึ่งแต่ละระบบจะมีการเตรียมไลบรารี่ ( Library ) ของการบริการต่างๆไว้เพื่อรอการเรียกใช้งานจากโปรแกรมผู้ใช้โดยในการเรียกใช้งานอาจจะมีการกำหนดค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ว่างานที่ต้องการทำนั้นจะมีข้อกำหนดในการเรียกใช้งานอย่างไร ซึ่งค่าพารามิเตอร์ที่กำหนดนั้นจะถูกเก็บรักษาในอุปกรณ์เฉพาะ เช่น รีจีสเตอร์
( Register ) ของเครื่องคอมพิวเตอร์
เป็นต้น และในระบบจะมีคำสั่งแทร็ป ( Trap Instruction ) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการป้องกันการเรียกระบบ โดยคำสั่งแทร็ปจะทำหน้าที่กระตุ้นการเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการ วัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งของไลบรารี่คือการซ่อนรายละเอียดการทำงานของโพซีเยอร์แต่ละตัวไวและสร้างรูปแบบการเรียกใช้งานระบบให้ดูประหนึ่งว่าเป็นการเรียกใช้งานโพซีเยอร์ปกติทั่วไป
คำสั่งพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์
การที่จะให้ไมโครคอมพิวเตอร์ทำงานนั้น
นอกจากจะมีตัวเครื่อง จอภาพ แผงแป้นอักขระ แผ่นบันทึก ฯลฯ ซึ่งเรียกว่า ฮาร์ดแวร์
( hardware ) แล้ว
จำเป็นต้องมีคำสั่งที่ควบคุมเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามที่เราต้องการ
คำสั่งต่าง ๆ นี้เรียกว่า ซอฟต์แวร์ ( software ) ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมระบบและสั่งงานไมโครคอมพิวเตอร์
เรียกว่า ระบบปฏิบัติการ ซึ่งมักจะเก็บอยู่ในแผ่นบันทึก
เนื่องจากการทำงานของระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการควบคุมและจัดการแผ่นบันทึก
จึงเรียกระบบปฏิบัติการนี้ว่า ดอส ( Disk Operating System : DOS ) การพัฒนาทางซอฟต์แวร์ได้ก้าวหน้าพร้อมกับการพัฒนาทางฮาร์ดแวร์
ระบบปฏิบัติการที่แพร่หลายที่สุดในยุคของไมโครคอมพิวเตอร์ขนาด 8 บิต คือ ซีพีเอ็ม CP/M ( Control Program for Microcomputer :CP/M)
ต่อมาไมโครคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาเป็นเครื่องขนาด 16 บิต จนมาเป็น 32 บิต
ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการก็มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย
ดอสที่นิยมใช้กันคือ MS-DOS หรือ PC-DOS ของบริษัทไมโครซอฟต์
ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องไอบีเอ็มพีซีหรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เข้ากันได้กับไอบีเอ็มพีซี
โดยทั่วไประบบปฏิบัติการแต่ละชุดจะเขียนขึ้นสำหรับใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แต่ละชนิด
ทั้งนี้เพราะเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แต่ละชนิดมีภาษาเครื่อง ( machine
language ) ต่างกัน MS-DOS หรือ PC-DOS
ก็เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกเขียนขึ้นสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์
หมายเลข 8086 หรือ 8088 เป็นหน่วยประมวลผลกลาง
หน้าที่หลักของระบบปฏิบัติการ คือ
- ควบคุมการรับและแสดงผลข้อมูล
เช่น ควบคุมแผงแป้นอักขระ เครื่องพิมพ์ ฯลฯ
- ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ประสานกัน
เช่น ควบคุมการรับและการแสดงผลข้อมูล
- จัดการการใช้หน่วยความจำ
รวมถึงการจัดลำดับงาน เช่น
ควบคุมการประมวลผลพร้อมทั้งควบคุมเครื่องพิมพ์ให้พิมพ์งานของอีกโปรแกรมหนึ่งที่เพิ่งประมวลไป
- รายงานความผิดพลาดของโปรแกรมที่เกิดขึ้นในขณะทำการประมวลผลการทำงานในหน้าที่นี้อาจเปรียบได้กับตำรวจจราจรซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและจัดการจราจร
โดย ควบคุมว่าจะปล่อยให้รถในเส้นทางใดไปก่อน เพื่อลดความหนาแน่นของรถ
และเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นตำรวจจราจรก็ตอ้งทำหน้าที่รายงานเหตุที่เกิดขึ้น
เป็นต้น
ตัวอย่างที่ 2
ตัวอย่างที่ 2
ระบบปฏิบัติการ DOS และคำสั่งพื้นฐาน
ระบบ Dos ใช้งานได้หลายทาง
ระบบปฏิบัติการ DOS
Dos ย่อมาจาก
Disk Operating System เป็นระบบปฎิบัติการรุ่นแรก ๆ
ซึ่งการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการทำงานบนระบบปฎิบัติการดอสเป็นหลัก โดยการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานโดยการใช้คำสั่งผ่านบรรทัดคำสั่ง
(Command Line) ที่นิยมใช้กันคือ MS-Dos ซึ่งต่อมาระบบปฎิบัติการดอสจะถูกซ่อนอยู่ใน Windows
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2
ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่
เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา
หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น
CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น
DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ
เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ
ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น
ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
รูปแบบและการใช้คำสั่งต่าง ๆ
ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:] หมายถึง Drive
เช่น A:, B:
[path] หมายถึงชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename] หมายถึง ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext] หมายถึง ส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง
รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (Internal
Command)
คำสั่ง
หน้าที่
รูปแบบ
CLS (CLEAR SCREEN) ลบข้อมูลบนจอภาพขณะนั้น
CLS
DATE แก้ไข/ดูวันที่ให้กับ SYSTEM DATE
TIME แก้ไข/ดูเวลา
ให้กับ SYSTEM
TIME
VER (VERSION)
ดูหมายเลข (version) ของดอส VER
VOL (VOLUME)
แสดงชื่อของ DISKETTE VOL [d:]
DIR (DIRECTORY) ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บนแผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิกส์ DIR [d:] [path] [filename [.ext]] [/p]
[/w]
/p หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลทีละ 1 หน้าจอภาพ
ถ้าต้องการดูหน้าต่อไปให้กดแป้นใด ๆ
/w หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลตามความกว้างของจอภาพ
TYPE แสดงเนื้อหาหรือข้อมูลในแฟ้มข้อมูลที่กำหนด TYPE [d:] [path] [filename.[.ext]]
COPY ใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง
หรือหลายแฟ้มข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทาง
อาจจะเป็นจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งหรือแผ่นดิสก์เดิมก็ได้ COPY [d:] [path] [filename[.ext]]
[d:] [path] filename[.ext]]
REN (RENAME] เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล (ข้อมูลข้างในแแฟ้มข้อมูลยังเหมือนเดิม) REN
[d:] [path][oldfilename[.ext]] [newfilename[.ext]]
DEL (DELETE) ลบแฟ้มข้อมูลออกจากแฟ่นดิสก์
DEL [d:] [path] [filename[.ext]]
PROMPT COMMAND เปลี่ยนรูปแบบตัวพร้อมรับคำสั่ง (system prompt) เป็นตัวใหม่ตามที่ต้องการ PROMPT [prompt-text] or propt $p$
$ หมายถึงตัวอักษร
t หมายถึง เวลา
d หมายถึง วัน เดือน ปี
p หมายถึง เส้นทาง Directory ปัจจุบัน
v หมายถึง DOS VERSION NUMBER
g หมายถึง เครื่องหมาย >
l หมายถึง เครื่องหมาย <
q หมายถึง เครื่องหมาย =
MD (MAKE DIRECTORY) สร้าง subdirectory (ห้องย่อย) เพื่อจัดเก็บแฟ้มข้อมูล
MD [d:] [path] [Dir_name]
CD (CHANGE DIRECTORY) เป็นคำสั่งในการเปลี่ยนไปใช้งาน subdirectory
ที่ต้องการ CD
[d:] [path] [Dir_name]
CD\ (การย้ายกลับมาสู่ ROOT DIRECTORY
CD.. (การย้ายกลับมาที่ DIRECTORY)
RD (REMOVE DIRECTORY)
ลบ subdirectory (ห้องย่อย)
ที่สร้างด้วยคำสั่ง MD RD [d:] [path] [Dir_name]
คำสั่งภายนอก(EXTERNAL COMMAND) คำสั่งภายนอกมี
2 นามสกุล
1.นามสกุลเป็น .COM เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
2.นามสกุลเป็น .EXE เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่เขียนโดยใช้ภาษาระดับสูงและแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
คำสั่ง หน้าที่ รูปแบบ
TREE แสดงรายชื่อ
directory ทั้งหมดในแผ่นดิสก์ ที่กำหนด TREE [d:] [/f]
/f หมายถึงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแต่ละ
subdirectory ด้วย
SYS (SYSTEM) เป็นคำสั่ง copy แฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการเปิดเครื่องลงในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์
ที่ไม่มีระบบ (เปิดเครื่องไม่ได้)
SYS [d:]
CHKDSK (CHECK DISK) ตรวจสอบ directory หรือ file แสดงจำนวน
memory ที่ใช้ไปและที่เหลืออยู่ รวมถึงเนื้อที่
บนแผ่นดิสก์ที่ใช้ไป และที่เหลืออยู่ CHKDSK [d:] [path]
[filename[.ext]] [/f] [/v]
/f หมายถึง
การตรวจสอบเนื้อที่ที่เสียหาย
/v หมายถึง ให้แสดง directory
และ แฟ้มข้อมูลที่ซ่อนอยู่
LABEL เพื่อกำหนดชื่อ
(volume label), เปลี่ยนหรือลบ volume label บนดิสก์ LABEL [d:]
[volume label]
FORMAT กรณีที่
diskette ใหม่ จะเป็นการจัด track และ sector
ของ diskette ใหม่ เพื่อให้เขียนข้อมูลได้
กรณีที่เป็น diskette ที่มีข้อมูลอยู่แล้วเมื่อใช้คำสั่งนี้ข้อมูลจะถูกล้างไปหมด
พร้อมที่เขียนข้อมูลใหม่ FORMAT
[d:] [/s] [/v] /s หมายถึง ทำการformat โดยทำการคัดลอก
โปรแกรมระบบดอส (BIO.COM, OS.COM, COMMAND.COM)
/v หมายถึง กำหนด volume
label ให้ดิสก์
DISKCOPY (COPY DISKETTE
เป็นคำสั่งที่ใช้ copy file ทั้งหมดจากแผ่นดิสก์จากแผ่นหนึ่งไปใส่อีกแผ่นหนึ่ง
แต่ถ้าแผ่นดิสก์อีกแผ่น ยังไม่ได้ทำการ format ก็จะทำการ format
ให้โดยอัตโนมัติ DISKCOPY
[d:] [d:]
การใช้งานคำสั่งต่างๆของ DOS
CD คำสั่งเข้า-ออก ในไดเร็คทอรี่
CD (Change Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนไดเร็คทอรี่ในโหมดดอส
เช่น ถ้าต้องการรัน คำสั่งเกมส์ที่เล่นในโหมดดอส ซึ่งอยู่ในไดเร็คทอรี MBK ก็ต้องเข้าไปในไดเร็คทอรีดังกล่าวเสี่ยก่อนจึงจะรันคำสั่งเปิดโปรแกรมเกมส์ได้
รูปแบบคำสั่ง
CD [drive :] [path]
CD[..]
เมื่อเข้าไปในไดเร็คทอรีใดก็ตาม
แล้วต้องการออกจากไดเร็คทอรีนั้น ก็เพียงใช้คำสั่ง CD\ เท่านั้นแต่ถ้าเข้าไปในไดเร็คทอรีย่อยหลาย ๆ ไดเร็คทอรี
ถ้าต้องการออกมาที่ไดรว์ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ให้ใช้คำสั่ง CD\ เพราะคำสั่ง CD.. จะเป็นการออกจากไดเร็คทอรีได้เพียงลำดับเดียวเท่านั้น
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
CD\ กลับไปที่ Root ระดับสูงสุด
เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\>docs\data> หลังจากใช้คำสั่งนี้ก็จะย้อนกลับไปที่
C:\ >
CD.. กลับไปหนึ่งไดเร็คทอรี เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\windows\command>
หลังจากนั้น ใช้คำสั่งนี้ก็จะก็จะย้อนกลับไปที่ C:\windows>
CHKDSK (CHECK DISK) คำสั่งตรวจเช็คพื้นที่ดิสก์
CHKDSK เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลของหน่วยความจำ
และการใช้งานดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์
การรายงานผลของคำสั่งนี้จะเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ไดเร็คทอรี และ FAT ของดิสก์ หรือไฟล์ เพื่อหาข้อมผิดพลาดของการเก็บบันทึก ถ้า CHKDSK พบว่ามี Lost Cluster จะยังไม่แก้ไขใด ๆ
นอกจากจะใช้สวิตซ์ /f กำหนดให้ทำการเปลี่ยน Lost
Cluster ให้เป็นไฟล์ที่มีชื่อไฟล์เป็น FILE0000.CHK
ถ้าพบมากว่า 1 ไฟล์ อันต่อไปจะเป็น FILE0002.CHK
ไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังสามารถรายงานปัญหาที่ตรวจพบได้อีก อย่างเช่น
จำนวน Bad Sector , Cross-ling Cluster (หมายถึง Cluster
ที่มีไฟล์มากกว่าหนึ่งไฟล์แสดงความเป็นเจ้าของ แต่ข้อมูลใน Cluster
จะเป็นของไฟล์ได้เพียงไฟล์เดียวเท่านั้น)
รูปแบบคำสั่ง
CHKDSK [drive:][[path]filename] [/F] [/V]
[drive:][path] กำหนดไดรว์
และไดเร็ทอรีที่ต้องการตรวบสอบ
filename ชื่อไฟล์ที่ต้องการให้ตรวจสอบ
/F สั่งให้ Fixes
Errors ทันทีที่ตรวจพบ
/V ขณะที่กำลังตรวจสอบ
ให้แสดงชื่อไฟล์และตำแหน่งของดิสก์บนหน้าจอด้วย
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\WINDOWS>CHKDSK D: ตรวจสอบข้อมูลการใช้งานดิสก์ในไดรว์
D
C:\>CHKDSK C: /F ตรวจสอบ ไดรว์ C พร้อมกับซ่อมแซมถ้าตรวจเจอปัญหา
COPY คำสั่งคัดลอกไฟล์
Copy เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์
จากไดเร็คทอรีหนึ่งไปยังไดเร็คทอรีที่ต้องการ
คำสั่งนี้มีประโยชน์มากควรหัดใช้ให้เป็น เพราะสามารถคัดลอกไฟล์ได้ยามที่ Windows
มีปัญหา
รูปแบบคำสั่ง
COPY [Source] [Destination]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\COPY A:README.TXT คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT
จากไดรว์ A ไปยังไดรว์ C
C:\COPY README.TXT A: คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT
จากไดรว์ C ไปยังไดรว์ A
C:\INFO\COPY A:*.* คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C
A:\COPY *.* C:INFO คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C
DIR คำสั่งแสดงไฟล์และไดเร็คทอรีย่อย
เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายชื่อไฟล์และไดเร็คทอรี
คำสั่งนี้ถือเป็นคำสั่งพื้นฐานที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำ
เพื่อจะได้รู้ว่าในไดรว์หรือไดเร็คทอรีนั้น ๆ มีไฟล์หรือไดเร็คทอรีอะไรอยู่บ้าง
รูปแบบคำสั่ง
DIR /P /W
/P แสดงผลทีละหน้า
/W แสดงในแนวนอนของจอภาพ
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\>DIR ให้แสดงรายชื่อไฟล์
และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C
C:\>DIR /W ให้แสดงรายชื่อไฟล์
และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C ในแนวนอน
C:\>INFO\DIR /P ให้แสดงรายชื่อไฟล์
และไดเร็คทอรีย่อยในไดเร็คทอรี INFO โดยแสดงทีละหน้า
C:\>INFO\DIR *.TEX ให้แสดงรายชื่อไฟล์ทั้งหมดในไดเร็คทอรี
INFO เฉพาะที่มีนามสกุล TXT เท่านั้น
C:\> DIR BO?.DOC ให้แสดงรายชื่อไฟล์ในไดรว์ C
ที่ขึ้นต้นด้วย BO และมีนามสกุล DOC ในตำแหน่ง ? จะเป็นอะไรก็ได้
DEL (DELETE) คำสั่งลบไฟล์
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการลบไฟล์
ซึ่งต้องระมัดระวังในการใช้คำสั่งนี้ให้มาก
รูปแบบคำสั่ง
DEL [ชื่อไฟล์ที่ต้องการลบ]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\>DEL BOS.VSD ลบไฟล์ในไดรว์ C ที่ชื่อ BOS.VSD
C:\>PROJECT\DEL JOB.XLS ลบไฟล์ชื่อ JOB.XLS ที่อยู่ในไดเร็คทอรี PROJEC ของไดรว์ C
D:\>DEL *.TXT ลบทุกไฟล์ที่มีนามสกุล TXT ในไดรว์ D
FDISK ( Fixed Disk)
เป็นไฟล์โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการกับพาร์ติชั่นของฮาร์ดิสก์
ใช้ในการสร้าง ลบ กำหนดไดรว์ ที่ทำหน้าที่บูตเครื่อง แสดงรายละเอียดของพาร์ติชันบนฮาร์ดิสก์
จะเห็นว่าเป็นโปรแกรมอีกตัวหนึ่งที่ต้องทำความรู้จักและศึกษาวิธีใช้งาน
เพราะสามารถใช้ประโยชน์ในการสร้าง ฮาร์ดดิสก์ให้มีหลาย ๆ ไดรว์ก็ได้
รูปแบบคำสั่ง
FDISK /STATUS
ตัวอย่างการใช้งานโปรแกรม
A:>\FDISK เริ่มใช้งานโปรแกรม
A:\>FDISK /STATUS แสดงข้อมุลเกี่ยวกับพาร์ติชันบนฮาร์ดดิสก์
FORMAT คำสั่งฟอร์แมตเครื่อง
เป็นคำสั่งใช้จัดรูปแบบของดิสก์ใหม่
คำสั่งนี้ปกติจะใช้หลังการแบ่งพาร์ชันด้วยคำสั่ง FDISK
เพื่อให้สามารถใช้งานฮาร์ดดดดิสก์ได้
หรือฝช้ล้างข้อมูลกรณีต้องการเคลียร์ข้อมูลทั้งหมดในฮาร์ดิสก์
รูปแบบคำสั่ง
FORMAT drive: [/switches]
/Q ให้ฟอร์แมตแบบเร็ว
ซึ่งจะใช้เวลาน้อยลง (Quick Format)
/S หลังฟอร์แมตแล้วให้คัดลอกไฟล์ระบบลงไปในไดรว์นั้นด้วย
เพื่อให้ไดรว์ที่ทำการฟอร์แมตสามารถบูตได้
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
A:\>FORMAT C: /S ฟอร์แมตไดรว์ C แล้วให้คัดลอกไฟล์ระบบลงไปในไดรว์ด้วย
C:\>FORMAT A: /Q ฟอร์แมตไดรว์ A แบบ Quick Format
MD คำสั่งสร้างไดเร็คทอรี
MD (Make Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างไดเร็คทอรี
คำสั่งนี้จะช่วยให้สามารถสร้างไดเร็คทอรีชื่ออะไรก็ได้ที่เราต้องการ
แต่ต้องมีการตั้งชื่อที่อยู่ในกฎเกณฑ์ของ Dos
รูปแบบคำสั่ง
MD [drive:] path
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
D:\> MD TEST สร้างไดเร็คทอรี TEST ขึ้นมาในไดรว์ D
D:\>DOC\MD TEST สร้างไดเร็คทอรีที่ชื่อ TEST
ขึ้นมาภายในไดเร็คทอรี DOC
REN (RENAME) คำสั่งเปลี่ยนชื่อไฟล์
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนชื่อไฟล์ และส่วนขยาย โดยคำสั่ง REN นี้ไม่สามารถใช้เปลี่ยนชื่อไดเร็คทอรีได้
รูปแบบคำสั่ง
REN [ชื่อไฟล์เดิมล [ชื่อไฟล์ใหม่]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\REN BOS.DOC ANN.DOC เปลี่ยนชื่อไฟล์ BOS.DOC
ในไดรว์ C เป็น ANN.DOC
C:\REN C:\MAYA\BOS.DOC PEE.DOC เปลี่ยนชื่อไฟล์ BOS.DOC
ในไดเร็คทอรี MAYA ให้เป็น PEE.DOC
C:\REN A:*.*TEX *.OLD เปลี่ยนส่วนขยายของไฟล์ชนิด TXT
ทุกไฟล์ในไดรว์ A ให้เป็น OLD
SCANDISK
คำสั่ง SCANDISK เป็นคำสั่งตรวจสอบพื่นที่ฮาร์ดดิสก์
สามารถใช้ในการตรวบสอบปัญหาต่าง ๆ ได้ และเมื่อ SCANDISK ตรวจพบปํญหา
จะมีทางเลือกให้ 3 ทางคือ FIX IT , Don't Fix IT และ More
Info ถ้าไม่เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นให้เลือก More Info เพื่อขอข้อมูลเพิ่มก่อนตัดสินใจต่อไป
ถ้าเลือก FIX IT จะเป็นการสั่งให้
Scandisk ทำการแก้ไขปัญหาที่พบ
ถ้าการซ่อมแซมสำเร็จโปรแกรมจะมีรายงานที่จอภาพให้ทราบ ส่วน Don't Fix IT คือให้ข้ามปัญหาที่พบไปโดยไม่ต้องทำการแก้ไข
รูปแบบคำสั่ง
SCANDISK [Drive:]/AUTOFIX
/AUTOFIX ให้แก้ไขปัญหาโดยอัตโนมัติ
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
A:\>SCANDISK C: ทำการตรวจสอบปัญหาในไดรว์ C
A:\>SCANDISK D:/AUTOFIX ทำการตรวจสอบปัญหาในไดรว์ D
และแก้ไขอัตโนมัติ
Type คำสั่งดูข้อมูลในไฟล์
Type เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงเนื้อหาภายในไฟล์บนจอภาพ
คำสั่งนี้จะใช้ได้กับไฟล์แบบ Text ส่วนไฟล์โปรแกรมต่าง ๆ
จะไม่สามารถอ่านได้
รูปแบบคำสั่ง
TYPE [ชื่อไฟล์ที่ต้องการอ่าน]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\>Type AUTOEXEC.BAT แสดงเนื้อหาภายในไฟล์ AUTOEXEC.BAT
C:\>NORTON\TYPE README.TXT แสดงเนื้อหาภายในไฟล์ README.TXT
ในไดเร็คทอรี NORTON
XCOPY คำสั่งคัดลอกทั้งไดเร็คทอรีและทั้งหมดในไดเร็คทอรี
XCOPY เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ได้เหมือนคำสั่ง COPY
แต่ทำงานได้เร็วกว่า และสามารถคัดลอก
ได้ทั้งไดเร็คทอรีและไดเร็คทอรีย่อย
รูปแบบคำสั่ง
XCOPY [ต้นทาง] [ปลายทาง] /S /E
/E ให้คัดลอกไดเร็คทอรีย่อยทั้งหมดรวมถึงไดเร็คทอรีย่อยที่ว่างเปล่าด้วย
/S ให้คัดลอกไดเร็คทอรีย่อยที่ไม่ว่างเปล่าทั้งหมด
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\>XCOPY BACKUP F: /S /E คัดลอกทุกไฟล์และทุกไดเร็คทอรีย่อย
BACKUP ไปไว้ในไดรว์ F
C:\>PRINCE>XCOPY *.VSD A: คัดลอกทุกไฟล์ที่มีนามสกุล
VSD ในไดเร็คทอรี PRINCE ไปที่ไดรว์ A
ข้อความแจ้งปัญหาในดอส
ในการทำงานบนดอสบางครั้งก็เกิดปัญหาได้บ่อย ๆ เหมือนกัน
ซึ่งการเกิดปัญหาแต่ละครั้งก็จะมีข้อความแจ้งให้ทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น
มีสาเหตุจากอะไร ต่อไปนี้เป็นข้อความแจ้งปัญหาที่มักพบได้บ่อย ๆ มีดังนี้
Abort, Retry, Fail ?
จะพบได้ในการณีที่ไดรว์ไม่มีแผ่นดิสก์อยุ่แล้วเรียกใช้ข้อมูลจากไดรว์นั้น
การแก้ไขก็นำแผ่นดิสก์ที่ต้องการใช้มาใส่เข้าไป
กดปุ่ม < R > (Retry) : การทำงานจะทำต่อจากงานที่ค้างอยู่ก่อนเกิดความผิดพลาด
กดปุ่ม < A > (Abort) : รอรับคำสั่งจะไปอยู่ในไดรว์ที่สั่งงานล่าสุด
กดปุ่ม < F > (Fail) : เมื่อต้องการยกเลิกการทำงาน
และเปลี่ยนไดรว์ใหม่
Bad Command or file name : ใช้คำสั่งผิดหรือไฟล์ที่เรียกใช้งานนั้นไม่สามารถเรียกใช้ได้
การแก้ไข ตรวจสอบบรรทัดคำสั่งว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น
พิมพ์คำสั่งหรือชื่อไฟล์ถูกต้องหรือไม่ แล้วลองรันคำสั่งดูใหม่อีกครั้ง อาจเกี่ยวข้องกับเวอร์ชันของดอสไม่มีคำสั่งนั้นก็ได้
File not found : ไม่สามารถหาไฟล์นั้นพบ
อาจไม่มีไฟล์นั้น หรืออาจพิมพ์ชื่อไฟล์นั้นนผิดจากที่ต้องการ
นอกจากนี้อาจเกิดจากพาธ (Path) ที่สั่งงานไม่มีไฟล์นั้น
Insufficient memory หรือ Out of memory
Insufficient memory : หน่วยความจำไม่พอต่อความต้องการของโปรแกรมOut
of memory : โปรแกรมเริ่มทำงานไปแล้วบางส่วนแล้วหน่วยความจำไม่พอ
ระบบจึงต้องแจ้งให้ผู้ใช้ทราบ Directory
already exits : เกิดขึ้นเมื่อสร้างไดเร็คทอรีแล้วไปซ้ำกับซื่อที่มีอยู่แล้วในพาธเดียวกัน Duplicate file ot file not found : ถ้าเปลี่ยนชื่อไฟล์ไปซ้ำกับชื่อที่มีอยู่จะทำไม่ได้และจะแจ้งเตือนดังข้อความดังกล่าว InSufficient Disk space : ข้อความนี้จะเกิดขึ้นเมื่อดิสก์ไม่เพียงพอต่อการเก็บข้อมูล
วิธีแก้ ลองใช้ดิสก์อื่นหรือลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ออก
1 . DOS ทำอะไรได้บ้าง
2 .
จัดการเกี่ยวกับเรื่องแฟ้มข้อมูล เช่น
ขอดูรายละเอียด คัดลอก ลบ
ตั้งหมวดหมู่ สำหรับ
a.
จัดเก็บแฟ้มข้อมูล ( Directory )
3 .
2.
มีคำสั่งสำรหับสร้างแฟ้มข้อมูลออกบางประเภท เช่น
แบตไฟล์ เท็กไฟล์ เป็นต้น
4 .
สั่งพิมพ์แฟ้มข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์ เช่น
จอภาพ ได้ทันที
5 .
จัดการเรื่องพื้นฐานของเครื่อง เช่น
ตั้งแต่เวลาและวันที่
สั่งการและประสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์ที่
ต้องพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์
ต้องพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์
6 .
เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
7 .
เรียกโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ให้เริ่มต้นการทำ
ที่มา : http://www.l3nr.org/posts/336524
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น